top of page

BLOG POST

Search
Writer's picturechonthichacha3

ขาเทียมมีกี่ประเภท ส่วนประกอบของขาเทียมมีอะไรบ้าง แล้วขาเทียมที่ดีเป็นอย่างไร?

Updated: Oct 18, 2021



ขาเทียมคือ อุปกรณ์เทียมชนิดหนึ่งใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียขา เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดหายไป และช่วยในการเคลื่อนไหว เช่นการยืนเดินในชีวิตประจำวันเป็นต้น ขาเทียมแบ่งออกได้ปลายประเภทตามระดับของการตัดขา ดังนี้


1. ขาเทียมระดับข้อเท้า คือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาระดับข้อเท้าลงไป

2. ขาเทียมระดับใต้เข่าคือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาระดับใต้เข่าลงไป

3. ขาเทียมระดับเข่า คือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาผ่านหัวเข่า

4. ขาเทียมระดับเหนือเข่า คือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขา สูงกว่าหัวเข่าขึ้นไป

5. ขาเทียมระดับสะโพก คือขาเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาผ่านข้อสะโพก หรือสูงกว่าข้อสะโพกขึ้นไป



โดยส่วนประกอบของขาเทียมแต่ละระดับจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ขาดหายไปของผู้ป่วย เช่นในกรณีที่เป็นขาเทียมระดับใต้เข่า ส่วนประกอบที่สำคัญหลักๆได้แก่ เบ้าขาเทียม ระบบยึดระหว่างตอขากับขาเทียม หน้าแข้งเทียม และเท้าเทียม ในกรณีที่ขาเทียมระดับเหนือเข่าจะมีข้อเข่าเทียมเพิ่มขึ้นมาเพื่อทำงานแทนข้อเข่าที่ถูกตัดไปของผู้ป่วย หรือกรณีที่เป็นขาเทียมระดับข้อสะโพกจะมีข้อสะโพกเทียมเพิ่มขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ทดแทนสะโพกที่ถูกตัดไปเป็นต้น



ส่วนประกอบหลักๆของขาเทียมมีดังต่อไปนี้


1. เบ้าอ่อน หรือวัสดุที่สัมผัสกับตอขา ใช้สวมใส่ระหว่างตอขาและเบ้าขาเทียม ทำหน้าที่ปกป้องตอขา ช่วยดูดซับแรงกระแทก และป้องกันการเกิดแผลระหว่างการใส่ขาเทียม วัสดุที่ใช้เป็นเบ้าอ่อนได้แก่ โฟม ซิลิโคนหรือเจล ผ้า เป็นต้น คุณสมบัติของเบ้าอ่อนแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป โดยปกติแล้วนักกายอุปกรณ์จะทำการตรวจประเมินตอขาเพื่อเลือกชนิดเบ้าอ่อนที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย


เบ้าขาเทียม

2. เบ้าขาเทียม จะเป็นโครงเบ้าแข็งแรงทำหน้าที่ในการเป็นกรอบสำหรับตอขา ช่วยรับน้ำหนักและกระจายแรงกดที่ตอขา

โดยทำการวัดและผลิตเฉพาะคนไข้แต่ละราย ตามหลักการทางกายอุปกรณ์ โดยนักกายอุปกรณ์ผู้ความรู้ความเชี่ยวชาญ วัสดุที่ใช้ในการทำเบ้าขาเทียมก็มีหลายประเภทยกตัวอย่างเช่น พลาสติกแข็ง เรซิ่น และคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นต้น


ขาเทียม


3. ระบบยึดระหว่างตอขากับขาเทียม เพื่อให้ใช้ขาเทียมได้อย่างสบายและเป็นธรรมชาติ ระบบล็อคตอขาและเข้าขาเทียมมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ตอขาและอุปกรณ์ยึดติดกัน ตัวอย่างของระบบล็อคตอขา เช่น ระบบล็อคโดยใช้สรีระของตอขา ระบบล็อคโดยใช้ระบบสุญญากาศ ระบบล็อคโดยใช้เดือยจากเบ้าอ่อน และระบบล็อคโดยใช้สายต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งระบบล็อคตอขาในขาเทียมแต่ละระดับก็จะมีความแตกต่างกันไป ปกติแล้วนักกายอุปกรณ์จะทำการตรวจประเมินสภาพตอขาของผู้ป่วยเพื่อเลือกระบบล็อคตอขาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย


ขาเทียม


4. เท้าเทียม ทำหน้าที่ทดแทนเท้าที่สูญเสียไป ซึ่งในปัจจุบันเท้าเทียมมีหลายชนิด แบ่งตามระดับการทำกิจกรรมของผู้ป่วย( functional level) การเลือกเท้าเทียมที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับการทำกิจกรรม หรือความต้องการในการใช้ขาเทียมในการทำกิจกรรมพิเศษอื่น ๆเช่น การวิ่ง การเล่นกีฬาทางน้ำ เป็นต้น



เท้าเทียม

5. ข้อเข่าเทียม ใช้ในผู้ป่วยขาเทียมระดับเข่าที่สูญเสียข้อเข่าขึ้นไป โดยข้อเข่าเทียมทำหน้าที่ทดแทนข้อเข้าที่หายไป ช่วยในการทรงตัวเวลายืนและเหยียดงอขณะเดิน และนั่ง การเลือกข้อเข่าก็ขึ้นอยู่กับระดับการทำกิจกรรมของผู้ป่วย (Functional level)เช่นเดียวกับการเลือกเท้า


เข่าเทียม


6. ข้อสะโพกเทียม ใช้ในผู้ป่วยที่ตัดขาระดับสะโพกขึ้นไป ทำหน้าที่แทนข้อสะโพกที่หายไป ช่วยเหยีดงอขณะเดิน และนั่ง


ข้อสะโพกเทียม


7. อุปกรณ์ข้อต่อต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบที่ใช้เป็นข้อต่อระหว่างเท้ากับเบ้า หรือเป็นส่วนท่อหน้าเเข้งที่ใช้เเทนความสูงที่ขาดหายไป วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ทำข้อต่อต่างๆ ทำมาจากอะลูมิเนียม สเเตนเลส ไทเทเนียมเเเละคาร์บอน ซึ่งระดับความเเข็งเเรงและน้ำหนักที่จำกัดจะต่างกันตามลำดับวัสดุที่ใช้

 อุปกรณ์ข้อต่อต่าง ๆ



ขาเทียมที่ดีต้องเป็นอย่างไร?


ขาเทียมที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นขาเทียมที่ราคาแพงที่สุดเสมอไป แต่หากเป็นขาเทียมที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยเริ่มจากเบ้าที่สวมใส่พอดีกับตอขา ช่วยให้ผู้ป่วยสวมใส่ขาเทียมได้สบาย ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ข้อเข่าเทียม เท้าเทียม ต้องเหมาะสมกับระดับกิจกรรมของผู้ป่วยเป็นต้น


 


ขอบคุณรูปภาพจาก

  • Otto bock

  • Ossur

  • Batchford

  • Proted

  • Proteor

  • Amputee store



2,073 views0 comments

Comments


bottom of page